กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เกิดจากอะไร เจาะสาเหตุและวิธีแก้ไขให้ตาสวย

กล้ามเนื้อหนังตาอ่อนแรง แก้ตาปรืออย่างไรให้ตาสวย
Facebook
Twitter
Email

สารบัญ

กล้ามเนื้อตา มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เรามองเห็นได้ชัดเจน แต่เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้อ่อนแรง อาจนำไปสู่ปัญหาการมองเห็น และทำให้หลาย ๆ คนขาดความมั่นใจในตัวเอง ในบทความนี้จึงจะพาไปทำความรู้จักกับภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงให้มากขึ้น ทั้งสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Myasthenia Gravis) คือ กล้ามเนื้อตาที่อ่อนแอจนทำให้ขอบตาบนตกลงมาปิดตาดำมากกว่าปกติ โดยภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย และอาจเป็นได้ทั้งกับตาข้างเดียว และตาสองข้าง หากเป็นข้างเดียวจะทำให้ตาไม่เท่ากัน แต่ถ้าเป็นสองข้างจะทำให้ดูตาปรือ เหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา 

กรณีมีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับรุนแรง เปลือกตาตกลงมากจนบังรูม่านตา จะทำให้การโฟกัสไปที่วัตถุใกล้ หรือไกลเป็นเรื่องยาก ซึ่งเป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เกิดจากอะไร

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจาก หลายปัจจัย

อายุที่เพิ่มมากขึ้น

เมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อทั่วร่างกายรวมถึงกล้ามเนื้อรอบดวงตาจะเริ่มสูญเสียความยืดหยุ่นและความแข็งแรง ส่งผลให้การควบคุมการเคลื่อนไหวของดวงตาลดลงจนเกิดภาะอ่อนแรง และอาจรบกวนการมองเห็นในชีวิตประจำวัน

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิด

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่กำเนิด เกิดจากภาวะที่ถ่ายทอดมาทางพันธุกรรม มีประวัติว่าคนในครอบครัวเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงมาก่อน หรือมีความผิดปกติของเส้นประสาทสมอง ทำให้ดูตาปรือ เปิดตาได้น้อยลง โดยอาจจะเป็นสองด้าน หรือเป็นด้านในด้านหนึ่ง บางกรณีอาจนำไปสู่ภาวะตาขี้เกียจหรือตาเอียงได้ ดังนั้น การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จึงมีความสำคัญ

ความผิดพลาดจากการทำตาสองชั้น

การผ่าตัดตาสองชั้นที่ผิดพลาดส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อตา เช่น การทำตาสองชั้นด้วยวิธีผูกปมไหมไม่ละลายไว้ใต้ผิวตา แล้วปมไหมไปขวางการทำงานของกล้ามเนื้อตา การทำตาสองชั้นสูงเกินไปจนเกิดปัญหาพังผืด หรือมีหนังตาตกจากการที่อ่อนแรงแต่เดิม แต่ไม่ได้รับการรักษาก่อนศัลยกรรม เป็นต้น

อุบัติเหตุที่ส่งผลต่อดวงตา

การบาดเจ็บบริเวณดวงตาและใบหน้าจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น การกระแทก การถูกของมีคมบาด หรือการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อกล้ามเนื้อตา เส้นประสาท หรือเนื้อเยื่อรอบดวงตา ส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงทั้งแบบชั่วคราวหรือถาวรได้

ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อดวงตา

โรคหลายชนิดสามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานของกล้ามเนื้อตา เช่น โรคเบาหวาน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่ส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย รวมถึงกล้ามเนื้อตา การรักษาโรคพื้นฐานเหล่านี้จึงมีความสำคัญต่อการป้องกันภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

พฤติกรรมอื่น ๆ

พฤติกรรมในชีวิตประจำวันมีผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อตาอย่างมาก การใช้สายตาเพ่งจอดิจิทัลหรืออ่านหนังสือเป็นเวลานานโดยไม่พัก ทำให้กล้ามเนื้อตาทำงานหนักเกินไปจนเกิดอาการล้า นอกจากนี้ การละเลยการบริหารกล้ามเนื้อตาก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อรอบดวงตาอ่อนแรงลงเมื่อเวลาผ่านไป การพักสายตาเป็นระยะและการบริหารกล้ามเนื้อตาอย่างสม่ำเสมอจึงมีความสำคัญในการป้องกันปัญหานี้

อาการของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

อาการ กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

หลายคนสงสัยว่า จะรู้ได้ไงว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? ต้องบอกว่า อาการของโรคอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยสามารถสังเกตจากอาการทั่วไป ดังนี้

  • มองเห็นไม่ชัด เห็นภาพซ้อม หรือภาพดูพร่ามัว
  • มีอาการลืมตาไม่ขึ้นหรือลืมตาไม่เต็มที่
  • มีอาการตาล้าและเมื่อยล้า แม้ว่าจะมองเห็นได้เพียงช่วงสั้น ๆ ก็ตาม
  • โฟกัสลำบาก โดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนโฟกัสจากวัตถุใกล้ไปยังวัตถุระยะไกลหรือในทางกลับกัน ส่งผลให้มองเห็นไม่ชัดเมื่อพยายามเปลี่ยนโฟกัส
  • การวางแนวของดวงตาไม่ตรง หรือภาวะที่เรียกว่าตาเหล่
  • การรับรู้ความลึกที่ลดลง ทำให้การตัดสินระยะทางอย่างแม่นยำเป็นเรื่องยาก
  • มีอาการปวดหัวบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการมองเห็นเป็นเวลานาน
  • มองภาพที่กำลังเคลื่อนไหวยากขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ดูกีฬา หรือขับรถ

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สังเกตอย่างไร

นอกจากสังเกตจากอาการที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว สามารถสังเกตได้จากลักษณะต่อไปนี้

  • ขอบเปลือกตาบังตาดำลงมามากกว่า 2 มิลลิเมตร เห็นตาดำไม่ครบวง 
  • ลืมตาได้ไม่เต็มที่ ต้องคอยเงยหน้าเพื่อช่วยการมองเห็น
  • คิ้วสูงไม่เท่ากัน
  • ตาดูปรือ เหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา
  • เบ้าตาลึกกว่าปกติ

ระดับของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

โดยปกติเปลือกตาบนจะคลุมตาดำลงมาอยู่ที่ระดับ 1-2 มิลลิเมตร ดังนั้นระดับความรุนแรงของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจึงแบ่งตามระดับขอบตาบน ดังนี้

  • ระดับเริ่มต้น ขอบของเปลือกตาบนปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 2 มิลลิเมตร
  • ระดับกลาง ขอบของเปลือกตาบน ปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 3 มิลลิเมตร
  • ระดับรุนแรง ขอบของเปลือกตาบนปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 4 มิลลิเมตร

การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาจะตรวจวินิจฉัยเพื่อหาโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยประเมินการมองเห็นและการเคลื่อนไหวของดวงตา ซึ่งมีขั้นตอนเบื้องต้นดังต่อไปนี้

  1. การทดสอบการมองเห็น การทดสอบนี้จะวัดว่าคุณมองเห็นได้ดีเพียงใดในระยะห่างต่างและพิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้เลนส์ปรับสายตาหรือไม่
  2. การประเมินการเคลื่อนไหวของดวงตา ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาจะตรวจสอบว่าดวงตาของคุณสามารถเคลื่อนไหวและติดตามวัตถุได้ดีเพียงใดทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง
  3. การทดสอบฝาครอบ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาสามารถประเมินได้ว่ามีการเยื้องแนวหรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยการปิดตาแต่ละข้างสลับกัน
  4. การทดสอบการหักเหของแสง การทดสอบนี้จะช่วยระบุข้อผิดพลาดในการหักเหของดวงตาของคุณ ซึ่งจำเป็นสำหรับการสั่งจ่ายเลนส์ที่ถูกต้อง หากจำเป็น
  5. การทดสอบเพิ่มเติม ในบางกรณี อาจมีการทดสอบเพิ่มเติม เช่น การตรวจจอตาหรือการทดสอบภาคสนามด้วยสายตา เพื่อแยกแยะสภาวะทางสายตาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอันตรายไหม

แม้จะไม่เป็นอันตรายมาก แต่หากปล่อยไว้ไม่รักษา จะส่งผลกระทบ ดังนี้

  • สูญเสียความมั่นใจ เพราะใบหน้าโดยรวมขาดสมดุล ตาดูไม่เท่ากัน ตาปรือ ทำให้ดูง่วงนอนตลอดเวลา 
  • เสียบุคลิกภาพ เพราะต้องเลิกคิ้ว หรือเงยหน้ามองอยู่บ่อย ๆ
  • แต่งหน้าลำบาก

การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแบบไม่ผ่าตัด

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงสงสัยว่า สามารถรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยวิธีไหนได้บ้าง อันดับแรกเราขอแนะนำ 2 วิธีรักษาแบบไม่ผ่าตัด ซึ่งเป็นทางเลือกเบื้องต้นที่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ 

1. การให้ยา

ภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ส่งผลให้การทำงานระหว่างกระแสประสาทและกล้ามเนื้อตาบกพร่อง การรักษาด้วยยาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่

  • ยากระตุ้นการทำงานของสื่อประสาท เป็นตัวเลือกแรกในการรักษาเนื่องจากมีความปลอดภัยสูง ช่วยให้การสื่อสารระหว่างประสาทและกล้ามเนื้อตาดีขึ้น แต่จะออกฤทธิ์ระยะสั้นและต้องรับประทานหลายครั้งต่อวัน อาจพบผลข้างเคียงเช่น ปวดท้อง ท้องเสีย หรือกล้ามเนื้อกระตุก หากมีอาการเหล่านี้ควรแจ้งแพทย์ทันที
  • ยาสเตียรอยด์ นำมาใช้ในกรณีฉุกเฉินหรือเมื่อมีอาการรุนแรง โดยจะกดภูมิคุ้มกันที่ผิดปกติ ทำให้การทำงานของกระแสประสาทและกล้ามเนื้อตากลับมาเป็นปกติ แต่การใช้ระยะยาวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงหลายอย่าง เช่น น้ำหนักเพิ่ม สิว อารมณ์แปรปรวน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และภูมิต้านทานต่ำ
  • ยากดภูมิคุ้มกัน เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาสองกลุ่มแรก หรือเกิดผลข้างเคียงรุนแรงจากยาสเตียรอยด์ แม้จะทำงานคล้ายสเตียรอยด์ แต่มีผลข้างเคียงรุนแรงกว่า เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาจส่งผลต่อการทำงานของตับและไขกระดูก จำเป็นต้องตรวจเลือดสม่ำเสมอเพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน

2. การบริหารกล้ามเนื้อตา

การบริหารกล้ามเนื้อตาเป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อรอบดวงตา แต่เป็นเพียงการบรรเทาอาการเท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การบริหารทำได้โดยการกลอกตาขึ้น-ลง ซ้าย-ขวา หรือการหลับตาแล้วค่อย ๆ ลืมตาช้า ๆ ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง วันละ 2-3 รอบ อย่างไรก็ตาม หากอาการไม่ดีขึ้นหรือรุนแรงมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาการรักษาด้วยวิธีอื่น

รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วย Subbrow Lift

รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วย Subbrow Lift

เทคนิค Subbrow Lift เหมาะกับใคร

  • ผู้ที่มีปัญหาหนังตาตกจากภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
  • ผู้ที่ไม่ต้องการรอยแผลเป็นบริเวณเปลือกตา
  • ผู้ที่เคยทำตาสองชั้นมาก่อนแต่ยังมีปัญหาหนังตาตก
  • ผู้ที่มีปัญหาชั้นตาหลับใน ชั้นตาไม่ชัด

ข้อดีของเทคนิค Subbrow Lift

  • ยกและปรับตำแหน่งของคิ้วเพื่อเพิ่มความกระชับและลดความหย่อนคล้อยใต้คิ้ว 
  • ลดรอยเหี่ยวย่นหรือริ้วรอยใต้คิ้ว
  • ช่วยให้ดวงตาดูสดใสและเปิดกว้างขึ้น
  • แผลผ่าตัดซ่อนอยู่ใต้คิ้ว มองไม่เห็นชัดเจน
  • แผลสมานตัวเร็ว ฟื้นตัวเร็วกว่าการผ่าตัดแบบอื่น 

การเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด

  • ปรึกษาแพทย์อย่างละเอียด เพื่อประเมินความเหมาะสมและวางแผนการรักษา
  • แจ้งศัลยแพทย์ในกรณีที่มีโรคประจำตัว รวมถึงยาที่ต้องรับประทานเป็นประจำ และประวัติการแพ้ยา
  • งดใช้ยาในตระกูลแอสไพริน (Aspirin) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาต้านการแข็งตัวของเลือด
  • งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด

ขั้นตอนการผ่าตัดเทคนิค Subbrow Lift

  1. แพทย์จะวาดรอยและกำหนดตำแหน่งที่จะผ่าตัดใต้คิ้ว พร้อมให้ยาชาเฉพาะที่
  2. ทำการผ่าตัดโดยกรีดผิวหนังบริเวณใต้คิ้ว แล้วตัดกล้ามเนื้อและไขมันส่วนเกินออก
  3. ยกและดึงผิวหนังขึ้น พร้อมเย็บปิดแผลอย่างประณีตเพื่อให้แผลเป็นอยู่ในร่องธรรมชาติใต้คิ้ว

วิธีดูแลตัวเองหลังการผ่าตัด

  • ประคบเย็นบริเวณที่ผ่าตัดในช่วง 2 วันแรก เพื่อลดอาการบวม และเปลี่ยนมาประคบอุ่นอีก 2 วันต่อมา
  • นอนหนุนหมอนสูงในช่วงแรกเพื่อลดอาการบวม
  • ทำความสะอาดแผลและใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ หรือทำกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออก
  • งดการแคะ แกะ เกา และสัมผัสใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษา
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดบวม อักเสบรุนแรง เลือดไหลไม่หยุด ให้รีบติดต่อแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา

ทำตาสองชั้นแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ไหม

การทำตาสองชั้นเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการทำตาสองชั้นเป็นเพียงการแก้ไขรูปร่างของชั้นตาเท่านั้น ไม่ได้แก้ไขที่สาเหตุของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ในกรณีที่มีปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แพทย์มักแนะนำให้ทำการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงร่วมกับการทำตาสองชั้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีและแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด โดยการผ่าตัดจะมุ่งเน้นการแก้ไขกล้ามเนื้อที่ยกหนังตาบนให้แข็งแรงขึ้น

รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่ไหนดี

ควรเลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน ให้บริการโดยจักษุแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านความผิดปกติของดวงตา หรือสามารถติดต่อปรึกษาฟรีได้ที่ Fern clinic ทีมแพทย์หมอเฟิร์น จะทำการตรวจตาอย่างครอบคลุม ประเมินอาการของคุณ และแนะนำทางเลือกการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ มั่นใจได้เลยมาแก้ไขตาปรือ โดยการทำ Subbrow Lift กับเราเพราะเราขึ้นชื่อเรื่องของฟรีสวย เรียบเนียน

รีวิว แก้กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตก Subbrow Lift ที่ Fern Clinic

รีวิวการทำ Subbrow Lift ที่ Fern Clinicรีวิวการทำ Subbrow Lift ที่ Fern Clinicรีวิวการทำ Subbrow Lift ที่ Fern Clinic

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

1. รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ราคาเท่าไหร่

ราคาการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยวิธี Subbrow Lift อาจแตกต่างกันไปสถานพยาบาลและความชำนาญของแพทย์ผู้ดูแล โดยที่ Fern Clinic ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 30,900 บาท

2. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงรักษาเองได้ไหม

มีวิธีบรรเทาอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่ทำได้เอง เช่น การบริหารกล้ามเนื้อตา แต่เป็นเพียงการบรรเทาเท่านั้น การรักษาที่มีประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหาได้อย่างถาวรมักต้องอาศัยการรักษาทางการแพทย์ โดยเฉพาะในกรณีที่อาการรุนแรงหรือเรื้อรัง รวมถึงปัจจุบันจะไม่นิยมรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแบบไม่ผ่าตัด เพราะเห็นผลช้าและไม่ถาวร

3. รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแล้ว ช่วยให้ตาโตขึ้นจริงไหม

การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงสามารถช่วยให้ดวงตาดูเปิดกว้างขึ้นได้จริง เพราะเป็นการยกเปลือกตาบน ทำให้ดวงตาดูโตขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพกล้ามเนื้อตาเดิม โครงสร้างใบหน้า และความรุนแรงของอาการ ดังนั้น การปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่คาดหวังได้จึงเป็นสิ่งสำคัญก่อนตัดสินใจทำการรักษา

สรุปเรื่องกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการมองเห็นและคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม จะสามารถจัดการกับภาวะนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณสงสัยว่ากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แนะนำให้ขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยคุณหมอจะระบุสาเหตุที่แท้จริง ประเมินอาการของคุณ และพัฒนาแผนการรักษาที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อตาและปรับปรุงการทำงานของการมองเห็น โปรดจำไว้ว่า การรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้นได้

หากสนใจแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถเข้ามารับคำแนะนำ และคำปรึกษาได้ที่ Fern Clinic เพราะเรามีบริการปรึกษาก่อนเข้ารับการผ่าตัดฟรี พร้อมโปรโมชันดี ๆ อีกมากมาย สามารถติดต่อได้ที่ Line : @dr.fern

Fern Clinic

บทความโดย : พ.ญ. ปุณฑริกา ตันตยานุสรณ์ (หมอเฟิร์น)

Interested fields: Aesthetic Surgery

ติดต่อสอบถาม ปรึกษาคุณหมอฟรี!

About Us

ยืนหนึ่งเรื่องแผลสวย ออกแบบทุกความสวย
อย่างประณีต โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ต้องการสอบถามเพิ่มเติมใช่หรือไม่?

ติดต่อเราทางอีเมล drfernaesthetique@gmail.com หรือเบอร์โทรศัพท์ 080-6356464 , 097-9398742