ดวงตาของคนเราปกติแล้วควรจะมีสีขาวที่บ่งบอกถึงสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง แต่ถ้าหากเกิดพบว่าดวงตามีสีเปลี่ยนไปดูตาเหลือง หมองลงแบบผิดปกติ นั่นก็เป็นสัญญาณเตือนจากร่างกายที่บ่งบอกให้รู้ว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นได้ และถึงแม้จะเป็นแค่สีดวงตาที่เปลี่ยนไป แต่ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้มากกว่าที่คิดอีกด้วย
เพราะส่วนใหญ่แล้วสีของดวงตาขาวที่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง มักจะเป็นสัญญาณเตือนของโรคอันตรายต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับตับ ท่อน้ำดี ถุงน้ำดี และระบบโลหิตในร่างกาย หากปล่อยทิ้งไว้อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลยทีเดียว สำหรับใครที่มีปัญหาตาเหลืองอยู่ ห้ามพลาดบทความนี้!
ตาเหลืองอาการเป็นอย่างไร
ตาเหลือง เป็นอาการที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน โดยปกติแล้วบริเวณลูกตาจะเป็นสีขาว แต่ในคนที่ตาเหลืองจะพบว่าตาขาวนั้นมีความหมองลง และเปลี่ยนสีออกเป็นสีเหลืองตั้งแต่เหลืองจาง ๆ ไปจนถึงสีเหลืองเข้มชัดเจน และในบางรายก็อาจมีอาการอื่นทางร่างกายร่วมด้วย เช่น
- ผิวเหลือง
- ปัสสาวะสีเข้มขึ้น
- อุจจาระมีสีจางผิดปกติ
- อ่อนเพลีย
ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับภาวะโรคตับได้ หรือเป็นอาการเตือนจากระบบร่างกายของเราให้ได้รับรู้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่าตอนนี้ร่างกายกำลังมีความผิดปกติเกิดขึ้นอยู่ เพื่อให้คุณได้รู้ตัวและรีบหาสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตาเหลืองขึ้นนั่นเอง
ตาเหลืองเกิดจากสาเหตุอะไร
อาการตาเหลืองเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นอาการแสดงของอาการโรคต่าง ๆ ที่ค่อนข้างมีความรุนแรงต่อร่างกาย เช่น
1. การทำงานของตับผิดปกติ
คนที่ตับทำงานผิดปกติมักจะมีอาการตาเหลือง เพราะว่ามีการสะสมของสารบิลิรูบิน (bilirubin) คือ สารสีเหลืองที่เกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดงอยู่ในกระแสเลือดในปริมาณที่มากเกินไป เนื่องมาจากการทำงานที่ผิดปกติของตับ ทำให้ตับขาดประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์เหล่านี้นั่นเอง
2. โรคตับอ่อนอักเสบ
สาเหตุที่ผู้ป่วยโรคตับอ่อนอักเสบมักแสดงอาการตาเหลือง นั่นก็เป็นเพราะว่าเมื่อตับอ่อนมีการอักเสบ จะทำให้ระบบทางเดินน้ำดีผิดปกติ เช่น ทำให้น้ำดีไหลเวียนได้ไม่สะดวก ซึ่งปกติแล้วท่อน้ำดีจะมีหน้าที่หลักในการลำเลียงน้ำดีที่ผลิตจากตับไปยังลำไส้เล็ก
แต่เมื่อตับอ่อนมีอาการอักเสบ จึงทำให้การไหลเวียนผิดปกติ ส่งผลให้ระดับบิลิรูบินในเลือดสูงขึ้น จึงทำให้ตาเหลือง ตัวเหลือง ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายต้องรีบพบแพทย์โดยทันที
3. โรคถุงน้ำดี
หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมโรคถุงน้ำดี เช่น นิ่วในถุงน้ำดี ถึงทำให้ตาเหลือง ซึ่งจริง ๆ แล้วเมื่อมีนิ่วในถุงน้ำดี และนิ่วเหล่านั้นหลุดออกมาอุดตันท่อน้ำดี จะทำให้น้ำดีที่ตับผลิตขึ้น ไม่สามารถไหลผ่านไปยังลำไส้เล็กเพื่อช่วยในการย่อยไขมันได้ตามปกติ ส่งผลให้บิลิรูบิน ซึ่งเป็นสารสีเหลืองที่เกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง สะสมอยู่ในร่างกายมากขึ้น จึงทำให้ตาขาวและผิวหนังของเราเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ซึ่งเราเรียกว่า ดีซ่าน นั่นเอง
4. ภาวะดีซ่าน
การเกิดภาวะดีซ่านนั้นมาจากการที่ร่างกายสะสมสารสีเหลืองเอาไว้มากเกินไป โดยสารตัวนี้ก็คือ สารบิลิรูบิน (bilirubin) จึงส่งผลให้ตัวเหลือง ตาเหลือง และเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักเกิดขึ้นเพราะตับมีการทำงานที่ผิดปกติ หรือระบบโลหิตทำงานผิดปกตินั่นเอง
5. ความผิดปกติของเลือด
นอกจากตับแล้วการทำงานของระบบโลหิตก็ส่งผลให้เกิดอาการตาเหลืองได้ เช่น คนที่เม็ดเลือดแดงในร่างกายสลายตัวมากเกินไปจนทำให้เกิดสารสีเหลือง (บิลิรูบิน) หลังเม็ดเลือดสลายตัวสะสมในร่างกายเยอะจนตับกำจัดไม่ทัน หรือในกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคเลือดอย่างธาลัสซีเมีย ที่เม็ดเลือดแดงในร่างกายถูกทำลายไวกว่าคนปกติ ก็อาจทำให้เกิดอาการตาเหลืองได้เช่นกัน
ตาเหลืองจะกลับมาขาวได้ไหม
หลายคนกังวลเมื่อพบว่าตาขาวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ซึ่งการที่ตาเหลืองนั้นมักเกิดจากปัญหาภายในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับตับและถุงน้ำดี ดังนั้นปัญหาตาเหลืองจึงสามารถแก้ไขให้กลับมาเป็นปกติได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้องตรงตามสาเหตุของโรคที่เป็น
เมื่อรักษาสาเหตุของโรคได้แล้ว ระดับบิลิรูบินในเลือดจะค่อย ๆ ลดลง และอาการตาเหลืองก็จะค่อย ๆ จางหายไปจนกลับมาเป็นปกติได้
อาการแบบไหนควรรีบไปพบแพทย์
สำหรับคนที่สังเกตเห็นชัดเจนว่าตาขาวเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือมีตาเหลืองชัดเจน ควรเข้าพบแพทย์ทันที เพราะนั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นโรคตับ ถุงน้ำดี ท่อน้ำดี หรือความผิดปกติของระบบโลหิตในร่างกาย
ยิ่งหากคุณสังเกตพบว่าตัวเองว่ามีอาการตาเหลืองชัดเจน ร่วมกับมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ตัวเหลือง ตัวซีด อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ ควรรีบเข้ารับการรักษากับแพทย์โดยทันที
วิธีดูแลดวงตาให้สดใส ป้องกันตาเหลือง
ตาเหลืองไม่ใช่แค่ปัญหาเรื่องความสวยงาม แต่ยังบ่งบอกถึงสุขภาพภายในที่อาจมีปัญหาอยู่นั่นเอง ดังนั้นการดูแลดวงตาให้สดใสจึงไม่ใช่แค่เรื่องของความสวยภายนอก แต่ยังรวมถึงการดูแลสุขภาพโดยรวมอีกด้วย ซึ่งจะมีวิธีดูแลดวงตาให้สดใสและป้องกันตาเหลืองได้ ดังนี้
1. ดูแลสุขภาพภายใน
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักใบเขียว และผลไม้ที่มีวิตามินเอสูง เช่น แครอท ฟักทอง
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ ช่วยให้ร่างกายขับของเสียและสารพิษออกไปได้ดี
- การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอจะช่วยให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น
- ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจหาโรคต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อดวงตา
2. ดูแลสุขภาพตา
- หากต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ควรพักสายตาเป็นระยะ
- หลีกเลี่ยงแสงจ้า โดยควรสวมแว่นกันแดดทุกครั้งเมื่อต้องออกไปกลางแจ้ง
- หลีกเลี่ยงการขยี้ตา เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองและติดเชื้อได้
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น ตาแดง ตาคัน หรือตาพร่ามัว ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางทันที
สรุปเรื่องตาเหลือง
นอกจากการดูแลสุขภาพตาเพื่อป้องกันตาเหลืองแล้ว การปรับปรุงรูปลักษณ์ดวงตากับคลินิกทำตาให้สวยงามเข้ากับใบหน้าก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเพิ่มเสน่ห์ และความสดใสให้กับใบหน้าได้ เช่น การทำตาสองชั้น การแก้ไขปัญหาหนังตาตก หรือการปรับรูปทรงของดวงตา ซึ่งควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญด้านการทำศัลยกรรมดวงตาอย่าง Fern Clinic เพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม ในการปรับรูปทรงตาให้สวย สดใส ครบมิติ อย่างปลอดภัยนั่นเอง