กล้ามเนื้อตา มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เรามองเห็นได้ชัดเจน แต่เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้อ่อนแรง อาจนำไปสู่ปัญหาการมองเห็น และทำให้หลาย ๆ คนขาดความมั่นใจในตัวเอง ในบทความนี้จึงจะพาไปทำความรู้จักกับภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงให้มากขึ้น ทั้งสาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงคืออะไร
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Myasthenia Gravis) คือ กล้ามเนื้อตาที่อ่อนแอจนทำให้ขอบตาบนตกลงมาปิดตาดำมากกว่าปกติ โดยภาวะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย และอาจเป็นได้ทั้งกับตาข้างเดียว และตาสองข้าง หากเป็นข้างเดียวจะทำให้ตาไม่เท่ากัน แต่ถ้าเป็นสองข้างจะทำให้ดูตาปรือ เหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา
กรณีมีภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงระดับรุนแรง เปลือกตาตกลงมากจนบังรูม่านตา จะทำให้การโฟกัสไปที่วัตถุใกล้ หรือไกลเป็นเรื่องยาก ซึ่งเป็นปัญหาต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เกิดจากอะไร
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น
- อายุ เมื่อเราอายุมากขึ้น กล้ามเนื้อในร่างกายของเราจะอ่อนแอลงตามธรรมชาติ รวมถึงกล้ามเนื้อตาด้วย ซึ่งอาจส่งผลให้การมองเห็นลดลงและมีปัญหาในการเคลื่อนไหวของดวงตา
- กล้ามเนื้อตาผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
- ปัจจัยทางพันธุกรรม บางคนอาจมีความโน้มเอียงทางพันธุกรรมที่จะมีโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงทำให้พวกเขาเสี่ยงต่อปัญหาการมองเห็นได้ง่ายขึ้น
- การเกิดอุบัติเหตุ หรือการผ่าตัดตาสองชั้นที่ผิดพลาด
- ปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อดวงตา เช่น โรคเบาหวาน โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ อาจส่งผลต่อความแข็งแรงและการประสานงานของกล้ามเนื้อตา
- อาการตาล้า การเพ่งสมาธิอย่างหนักเป็นเวลานาน เช่น การจ้องมองหน้าจอดิจิตอลหรือการอ่านหนังสือเป็นเวลานาน อาจทำให้กล้ามเนื้อตาตึง ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนแรงเมื่อเวลาผ่านไป
- ขาดการออกกำลังกายกล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ ดังนั้นควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อบริเวณรอบดวงตาเป็นประจำ เพื่อให้กล้ามเนื้อรอบดวงตาแข็งแรง
อาการของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
หลายคนสงสัยว่า จะรู้ได้ไงว่าเป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง? ต้องบอกว่า อาการของโรคอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยสามารถสังเกตจากอาการทั่วไป ดังนี้
- มองเห็นไม่ชัด เห็นภาพซ้อม หรือภาพดูพร่ามัว
- มีอาการลืมตาไม่ขึ้นหรือลืมตาไม่เต็มที่
- มีอาการตาล้าและเมื่อยล้า แม้ว่าจะมองเห็นได้เพียงช่วงสั้น ๆ ก็ตาม
- โฟกัสลำบาก โดยเฉพาะเวลาเปลี่ยนโฟกัสจากวัตถุใกล้ไปยังวัตถุระยะไกลหรือในทางกลับกัน ส่งผลให้มองเห็นไม่ชัดเมื่อพยายามเปลี่ยนโฟกัส
- การวางแนวของดวงตาไม่ตรง หรือภาวะที่เรียกว่าตาเหล่
- การรับรู้ความลึกที่ลดลง ทำให้การตัดสินระยะทางอย่างแม่นยำเป็นเรื่องยาก
- มีอาการปวดหัวบ่อยครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการมองเห็นเป็นเวลานาน
- มองภาพที่กำลังเคลื่อนไหวยากขึ้น เช่น อ่านหนังสือ ดูกีฬา หรือขับรถ
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สังเกตอย่างไร
นอกจากสังเกตจากอาการที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว สามารถสังเกตได้จากลักษณะต่อไปนี้
- ขอบเปลือกตาบังตาดำลงมามากกว่า 2 มิลลิเมตร เห็นตาดำไม่ครบวง
- ลืมตาได้ไม่เต็มที่ ต้องคอยเงยหน้าเพื่อช่วยการมองเห็น
- คิ้วสูงไม่เท่ากัน
- ตาดูปรือ เหมือนคนง่วงนอนตลอดเวลา
- เบ้าตาลึกกว่าปกติ
ระดับของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
โดยปกติปลืองตาบนจะคลุมตาดำลงมาอยู่ที่ระดับ 1-2 มิลลิเมตร ดังนั้นระดับความรุนแรงของกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงจึงแบ่งตามระดับขอบตาบน ดังนี้
- ระดับเริ่มต้น ขอบของเปลือกตาบนปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 2 มิลลิเมตร
- ระดับกลาง ขอบของเปลือกตาบน ปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 3 มิลลิเมตร
- ระดับรุนแรง ขอบของเปลือกตาบนปิดคลุมทับตาดำลงมาเกินกว่า 4 มิลลิเมตร
การตรวจวินิจฉัยกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาจะตรวจวินิจฉัยเพื่อหาโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง โดยประเมินการมองเห็นและการเคลื่อนไหวของดวงตา ซึ่งมีขั้นตอนเบื้องต้นดังต่อไปนี้
- การทดสอบการมองเห็น การทดสอบนี้จะวัดว่าคุณมองเห็นได้ดีเพียงใดในระยะห่างต่าง ๆ และพิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้เลนส์ปรับสายตาหรือไม่
- การประเมินการเคลื่อนไหวของดวงตา ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาจะตรวจสอบว่าดวงตาของคุณสามารถเคลื่อนไหวและติดตามวัตถุได้ดีเพียงใดทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง
- การทดสอบฝาครอบ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลดวงตาสามารถประเมินได้ว่ามีการเยื้องแนวหรือกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยการปิดตาแต่ละข้างสลับกัน
- การทดสอบการหักเหของแสง การทดสอบนี้จะช่วยระบุข้อผิดพลาดในการหักเหของดวงตาของคุณ ซึ่งจำเป็นสำหรับการสั่งจ่ายเลนส์ที่ถูกต้อง หากจำเป็น
- การทดสอบเพิ่มเติม ในบางกรณี อาจมีการทดสอบเพิ่มเติม เช่น การตรวจจอตาหรือการทดสอบภาคสนามด้วยสายตา เพื่อแยกแยะสภาวะทางสายตาอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอันตรายไหม
แม้จะไม่เป็นอันตรายมาก แต่หากปล่อยไว้ไม่รักษา จะส่งผลกระทบ ดังนี้
- สูญเสียความมั่นใจ เพราะใบหน้าโดยรวมขาดสมดุล ตาดูไม่เท่ากัน ตาปรือ ทำให้ดูง่วงนอนตลอดเวลา
- เสียบุคลิกภาพ เพราะต้องเลิกคิ้ว หรือเงยหน้ามองอยู่บ่อย ๆ
- แต่งหน้าลำบาก
รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วย Subbrow Lift
Subbrow Lift เป็นเทคนิคการผ่าตัดที่ช่วยรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ด้วยการกรีดใต้แนวคิ้ว เย็บยกกล้ามเนื้อชั้นตายึดกับบริเวณกระดูกหางคิ้ว และตัดหนังตาส่วนเกินออก วิธีนี้ช่วยยกเปลือกตาบน ทำให้ดวงตาดูสดใสและเปิดกว้างขึ้น โดยที่แผลเย็บจะซ่อนอยู่ระนาบแนวคิ้ว เมื่อแผลหายสนิทจะเรียบเนียนเป็นธรรมชาติ
การเตรียมความพร้อมก่อนการผ่าตัด
- ปรึกษาแพทย์อย่างละเอียด เพื่อประเมินความเหมาะสมและวางแผนการรักษา
- แจ้งศัลยแพทย์ในกรณีที่มีโรคประจำตัว รวมถึงยาที่ต้องรับประทานเป็นประจำ และประวัติการแพ้ยา
- งดใช้ยาในตระกูลแอสไพริน (Aspirin) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาต้านการแข็งตัวของเลือด
- งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์อย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด
วิธีดูแลตัวเองหลังการผ่าตัด
- ประคบเย็นบริเวณที่ผ่าตัดในช่วง 2 วันแรก เพื่อลดอาการบวม และเปลี่ยนมาประคบอุ่นอีก 2 วันต่อมา
- นอนหนุนหมอนสูงในช่วงแรกเพื่อลดอาการบวม
- ทำความสะอาดแผลและใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนัก ๆ หรือทำกิจกรรมที่ทำให้เหงื่อออก
- งดการแคะ แกะ เกา และสัมผัสใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณแผล เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามผลการรักษา
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดบวม อักเสบรุนแรง เลือดไหลไม่หยุด ให้รีบติดต่อแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา
รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ที่ไหนดี
ควรเลือกคลินิกที่ได้มาตรฐาน ให้บริการโดยจักษุแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านความผิดปกติของดวงตา หรือสามารถติดต่อปรึกษาฟรีได้ที่ Fern clinic ทีมแพทย์หมอเฟิร์น จะทำการตรวจตาอย่างครอบคลุม ประเมินอาการของคุณ และแนะนำทางเลือกการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับคุณ มั่นใจได้เลยมาแก้ไขตาปรือ โดยการทำ Subbrow Lift กับเราเพราะเราขึ้นชื่อเรื่องของฟรีสวย เรียบเนียน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
1. รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ราคาเท่าไหร่
ราคาการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงด้วยวิธี Subbrow Lift อาจแตกต่างกันไปสถานพยาบาลและความชำนาญของแพทย์ผู้ดูแล โดยที่ Fern Clinic ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 30,900 บาท
2. กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงรักษาเองได้ไหม
มีวิธีบรรเทาอาการกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่ทำได้เอง เช่น การบริหารกล้ามเนื้อตา แต่เป็นเพียงการบรรเทาเท่านั้น การรักษาที่มีประสิทธิภาพและแก้ไขปัญหาได้อย่างถาวรมักต้องอาศัยการรักษาทางการแพทย์ โดยเฉพาะในกรณีที่อาการรุนแรงหรือเรื้อรัง รวมถึงปัจจุบันจะไม่นิยมรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแบบไม่ผ่าตัด เพราะเห็นผลช้าและไม่ถาวร
3. รักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงแล้ว ช่วยให้ตาโตขึ้นจริงไหม
การรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรงสามารถช่วยให้ดวงตาดูเปิดกว้างขึ้นได้จริง เพราะเป็นการยกเปลือกตาบน ทำให้ดวงตาดูโตขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับสภาพกล้ามเนื้อตาเดิม โครงสร้างใบหน้า และความรุนแรงของอาการ ดังนั้น การปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินผลลัพธ์ที่คาดหวังได้จึงเป็นสิ่งสำคัญก่อนตัดสินใจทำการรักษา
สรุปเรื่องกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการมองเห็นและคุณภาพชีวิต อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสม จะสามารถจัดการกับภาวะนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณสงสัยว่ากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง แนะนำให้ขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยคุณหมอจะระบุสาเหตุที่แท้จริง ประเมินอาการของคุณ และพัฒนาแผนการรักษาที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อตาและปรับปรุงการทำงานของการมองเห็น โปรดจำไว้ว่า การรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นและคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้นได้
หากสนใจแก้ปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง สามารถเข้ามารับคำแนะนำ และคำปรึกษาได้ที่ Fern Clinic เพราะเรามีบริการปรึกษาก่อนเข้ารับการผ่าตัดฟรี พร้อมโปรโมชันดี ๆ อีกมากมาย สามารถติดต่อได้ที่ Line : @dr.fern